บีทีเอสตื๊อขอลงทุนก่อสร้างทางคู่แสนล้าน "ขอนแก่น-มาบตาพุด" พ่วงสัมปทานเดินรถ 50 ปี ทุ่มหมื่นล้านผุดคอนโดฯ สวัสดิการพนักงานรถไฟ 5 พันยูนิต แลกสิทธิ์เช่ายาวที่ดิน 359 ไร่ ย่าน กม.11 ลุยคอนโดปล่อยเช่า พื้นที่ใช้สอย 42-56 ตร.ม. อีก 5 พันยูนิต เนรมิตศูนย์การค้า โรงพยาบาล สวนรับรถไฟสีแดง "บางซื่อ-รังสิต เล็งสร้างโมโนเรลเชื่อมบางซื่อทะลุจตุจักร ด้าน "ประจิน" รื้อแผนพัฒนาที่ดินรถไฟ
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทเตรียมระดมทุนจากเงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานบีทีเอส 3 หมื่นล้านบาท และกระแสเงินสด 2 หมื่นล้านบาท เพื่อลงทุนก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถโครงการรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-มาบตาพุด ระยะทางกว่า 500 กม. คาดว่าลงทุน 1.1 แสนล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 7 หมื่นล้านบาท อีก 3 หมื่นล้านบาท เป็นงานระบบเดินรถ คืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างหารือกระทรวงคมนาคมถึงรูปแบบการร่วมลงทุน
ผุดเมืองใหม่ย่าน กม.11
ขณะเดียวกัน บริษัทสนใจพัฒนาที่ดิน 359 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริเวณ กม.11 โดยเสนอแนวคิดเบื้องต้นให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาแล้ว และมีกำหนดหารือครั้งต่อไปภายในกลาง ก.ค.นี้ เกี่ยวกับระยะเวลาการเช่าและผลตอบแทน
"เสนอพัฒนาโครงการเมืองใหม่ ใกล้สถานีกลางบางซื่อ ในแนวรถไฟสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่กำลังก่อสร้าง รูปแบบเป็นคอนโดมิเนียม 10 อาคาร ประมาณ 1 หมื่นยูนิต สำหรับเป็นสวัสดิการพนักงานรถไฟ 5พันยูนิต และให้คนทั่วไปที่เป็นมนุษย์เงินเดือนเช่าระยะยาว 10-30 ปี ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า โรงพยาบาล"
นายคีรีกล่าวอีกว่า นอกจากนี้บริษัทสนใจลงทุนสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) เชื่อมการเดินทางรอบ กม.11 และพื้นที่ใกล้เคียง มีอยู่ในแผนการพัฒนาของการรถไฟฯ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ผุดเมืองใหม่ย่าน กม.11
ขณะเดียวกัน บริษัทสนใจพัฒนาที่ดิน 359 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริเวณ กม.11 โดยเสนอแนวคิดเบื้องต้นให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาแล้ว และมีกำหนดหารือครั้งต่อไปภายในกลาง ก.ค.นี้ เกี่ยวกับระยะเวลาการเช่าและผลตอบแทน
"เสนอพัฒนาโครงการเมืองใหม่ ใกล้สถานีกลางบางซื่อ ในแนวรถไฟสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่กำลังก่อสร้าง รูปแบบเป็นคอนโดมิเนียม 10 อาคาร ประมาณ 1 หมื่นยูนิต สำหรับเป็นสวัสดิการพนักงานรถไฟ 5พันยูนิต และให้คนทั่วไปที่เป็นมนุษย์เงินเดือนเช่าระยะยาว 10-30 ปี ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า โรงพยาบาล"
นายคีรีกล่าวอีกว่า นอกจากนี้บริษัทสนใจลงทุนสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) เชื่อมการเดินทางรอบ กม.11 และพื้นที่ใกล้เคียง มีอยู่ในแผนการพัฒนาของการรถไฟฯ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ประจินรื้อโมเดลที่ดินรถไฟ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้แผนพัฒนาที่ดินการรถไฟฯแปลงใหญ่ 2 แปลง มีความชัดเจนถึงคอนเซ็ปต์การพัฒนาเรียบร้อยแล้ว เน้นเรื่องเชิงสังคมมากขึ้น คือ ย่านมักกะสัน 497 ไร่ เน้นพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวหรือปอดคนกรุงเทพฯ 150 ไร่ เชิงพาณิชย์ 140 ไร่ เช่นเดียวกับที่ดินย่าน กม.11 ให้ความสำคัญการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นสวัสดิการพนักงานรถไฟ 8-8.5 พันครอบครัว แยกเป็นที่อยู่บริเวณ กม.11 ประมาณ 5-6 พันครอบครัว และย้ายมาจากย่านมักกะสันอีก 2 พันครอบครัว รวมถึงที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้ปานกลาง สวนสีเขียว สันทนาการและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม ร้านค้า เป็นต้น จากเดิมรถไฟออกแบบเน้นพัฒนาเชิงพาณิชย์ 100% ซึ่งที่ดินแปลงนี้ทางบีทีเอสสนใจพัฒนา ส่วนที่ดินสถานีแม่น้ำ 277 ไร่ยังไม่สรุปจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามที่การรถไฟฯออกแบบไว้หรือเน้นการพัฒนา เชิงสาธารณะ ขอดูรูปแบบที่รถไฟศึกษาโครงการไว้ก่อน
"เดิมทีจะดูที่ดินสถานีแม่น้ำด้วยว่าพัฒนาเป็นรูปแบบไหนเพื่อสร้างรายได้ แต่พอดีมีที่ดินย่าน กม.11 แทรกเข้ามาก่อน หลังบีทีเอสสนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาโครงการ"
คอนโดบีทีเอส 42-56 ตร.ม.
ทั้งนี้ มีกำหนดนัดบีทีเอสกรุ๊ปมาหารือภายในกลาง ก.ค.นี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า โดยบริษัทเสนอพัฒนา 5 ส่วน คือ 1.สร้างคอนโดมิเนียม 5,000 ยูนิต รองรับพนักงานการรถไฟฯ 5,000 ครัวเรือน ออกแบบห้องชุด 2 ไซซ์ 42 และ 56 ตารางเมตร โดยบริษัทจะสร้างให้ฟรี เพื่อแลกเปลี่ยนกับการพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือ 2.พื้นที่ค้าขายสำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายบริเวณ กม.11 เดิม 3.สวนสาธารณะ 4.สร้างคอนโดฯ ให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง และ 5.พื้นที่เชิงพาณิชย์
"เพื่อให้การเดินทางสะดวกมากขึ้นทางบีทีเอสเสนอร่วมลงทุนสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลด้วย เชื่อมการเดินทางจากจตุจักรและบางซื่ออีกด้วย"
นอกจากนี้มีการหารือแผนลงทุนระบบเดินรถสินค้า รถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร เส้นทางขอนแก่น-มาบตาพุด ระยะทาง 500 กม. รวมถึงผลตอบแทนที่บริษัทจะแบ่งสัดส่วนรายได้ให้กับการรถไฟฯ คาดว่าจะเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนรูปแบบ PPP ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556
"บริษัทเสนอการเดินรถรูปแบบใหม่เป็นหัวรถจักรไฟฟ้า ก็ตรงกับนโยบายจะเปลี่ยนการใช้รถจักรดีเซลเป็นไฟฟ้า จึงให้บริษัทไปทำรายละเอียดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าที่จะป้อนเข้าไปในระบบด้วย โครงการนี้อาจจะยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้" พล.อ.อ.ประจินกล่าว
คีรีขอสัมปทานทางคู่ 50 ปี
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟฯกล่าวว่า ทั้ง 2 โครงการเป็นการลงทุนรูปแบบPPP โดยการเดินรถด้วยหัวรถจักรไฟฟ้าถือว่าเป็นโครงการที่ดี ทางบีทีเอสเสนอขอรับสัมปทาน 50 ปี ส่วนการพัฒนาที่ดินย่าน กม.11 บริษัทเป็นผู้ลงทุน 1 หมื่นล้านบาทสร้างคอนโดฯ รองรับพนักงานรถไฟ ทั้งย่าน กม.11 และมักกะสัน ที่มีแผนจะย้ายจะเป็นลักษณะชุมชนรถไฟ ส่วนพื้นที่ 100 ไร่ที่เหลือเป็นสวนสาธารณะ และพื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 100 ไร่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถไฟทางคู่ที่บีทีเอสสนใจเป็นโครงการที่กำลังจะเปิดประมูลปีนี้ ค่าก่อสร้างรวม 67,210 ล้านบาท ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. 11,348 ล้านบาท, มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 172 กม. 29,855 ล้านบาทและจิระ-ขอนแก่น 185 กม. 26,007 ล้านบาท รวมถึงช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง 78 กม. ที่เปิดใช้ปี 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น